สุนัขกัดต้องฉีดวัคซีนภายในกี่ชั่วโมง


สุนัขกัดต้องฉีดวัคซีนภายในกี่ชั่วโมง

“โรคพิษสุนัขบ้า” เรียกได้ว่าเป็นความน่ากลัวบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยเฉพาะสุนัขที่มีเขี้ยวอันคมหนา ถูกกัดถูกขย้ำทีมีรักษาไปหลายวัน ไม่แน่เป็นเดือนเลยทีเดียว ทั้งยังต้องหมั่นไปล้างแผลบ่อย ๆ อีกด้วย ซึ่งหากสุนัขไม่ได้รับการฉีดวัคซีน อย่าง สุนัขจรจัดแล้วโดนกัดล่ะก็เสี่ยงเป็นโรคนี้ได้

แน่นอนว่าคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับโรคนี้คือเมื่อถูกสุนัขกัดต้องฉีดวัคซีนภายในกี่ชั่วโมง แล้วหากต้องรอฉีดวัคซีนนานกว่านั้น จะเป็นอะไรไหม? บทความนี้ไม่รอช้าได้ไปศึกษาและรวบรวมข้อมูลมาบอกต่อ ขจัดความกังวลไปได้อย่างปริดทิ้ง

โรคพิษสุนัขบ้าคืออะไร มาจากสัตว์ชนิดไหนบ้าง?

ก่อนที่จะไปหาคำตอบเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าต้องรียทำภายในกี่ขั่วโมง หากต้องรอฉีดวัคซีนนานกว่านั้น จะเป็นอะไรไหม?

 เรามาทำความเข้าใจสักเล็กน้อยว่าโรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำนั้น เป็นการติดเชื้อในระบบประสาทจากสัตว์มาสู่มนุษย์ ซึ่งพบได้จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่าง สุนัข แมว วัว ลิง ค้างคาว กระต่าย หนู กระรอก ฯลฯ โดยสัตว์ที่นำโรคนี้มาสู่มนุษย์มากที่สุดให้สุนัข และแมวที่มากัด มาข่วนเกิดบาดแผลสัมผัสกับน้ำลาย หรือแม้แต่การเลียที่ปากหรือเยื่อบุตา แน่นอนว่าความรุนแรงน่ากลัวมากเพราะถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว

อาการของผู้เป็นโรคพิษสุนัขบ้านั้น เฉลี่ยแล้วจะเป็นอยู่ประมาณ 3 อาทิตย์ไปจนถึง 3 เดือน ความรุนแรงขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ถูกกัด ความลึก กว้าง และจำนวนแผล แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

 ระยะที่ 1 ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอ ไข้ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามร่างกาย บางคนมีความรู้สึกแปล๊บ ๆ เหมือนถูกเข็มตำ อาจจคันร่วมด้วย โดยจะเป็นอยู่เฉลี่ย 2 – 10 วัน

ระยะที่ 2 เป็นระยะของอาการทางสมอง ผู้ป่วยจะอยู่ไม่นิ่ง สับสนวุ่นวาย กลืนลำบากกระส่ายกระสับ กลัวน้ำไม่อยากโดนหรือเข้าใกล้ รุนแรงมากถึงขั้นไม่ชอบเสียงดังหรือการมาจับแตะเนื้อต้องตัว เป็นอัมพาตและอาการชักในที่สุด โดยจะเป็นอยู่เฉลี่ย 2 – 7 วัน

ระยะที่ 3 รุนแรงขั้นสุดแล้ว ผู้ป่วยจะมีภาวะหัวใจหยุดเต้น โคม่า สุดท้ายก็เสียชีวิตลงอย่างรวดเร็ว

สุนัขกัดต้องฉีดวัคซีนภายในกี่ชั่วโมง?

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ดันเคราะห์ร้ายถูกสุนัขโดยเฉพาะบรรดาจรจัดกัด/ขย้ำ ต้องรีบเดินทางไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนทันที ซึ่งปกติแล้วจะฉีดทั้งหมด 6 เข็ม แบ่งออกเป็นเข็มแรกภายใน 24 – 48 ชั่วโมงที่ถูกกัด และภายใน 7 วันต้องได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอต่อการไปยับยั้ง ป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า สุดท้ายเข็มที่ 4 และ 5 จะเป็ฯการฉีดต่อเพื่อกระตุ้นภูมิค้มกันทำให้ป้องกันโรคไปนาน 1 ปี

หลาย ๆ คนอาจจะอยากรู้เพิ่มเติมว่าการจะฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้านี้กี่เข็มถึงจะเพียงพอ จริง ๆ แล้วแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่

1. กรณีฉีดเข้าชั้นผิวหนัง

โดยจะฉีดกับบุคคลที่ยังไม่เคยโดนกัดมาก่อน ซึ่งจะฉีดเข้าชั้นผิวหนัง 4 ครั้ง ครั้งละ 2 จุด ก็คือบริเวณต้นแขน 2 ข้าง เริ่มฉีดแล้วนับไปวันที่ 3 วันที่ 7 และสุดท้ายวันที่ 28

2. กรณีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

โดยจะฉีดกับบุคคลที่ยังไม่เคยโดนกัดมาก่อนอีกเช่นกัน แต่จะฉีด 5 เข็ม ในวันที่เริ่มฉัด วันที่ 3 วันที่ 7  วันที่ 14 และวันที่ 28 บริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน แต่หากถูกกัดที่ใบหน้า (บริเวณที่ใกล้กับเส้นประสาทถูกส่งไปลเยงมาก ๆ) หรือแผลฉกรรจ์รุนแรงมากก็จะต้องฉีดวัคซีน Immunoglobulin (อิมมูโนโกลบูลิน) หรือเซรุ่มเพิ่ม เพราะโรคพิษสุนัขบ้าหากเป็นแล้วตายทันที ไม่สามารถรอให้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายขึ้นมาเองนั่นเอง การรับวัคซีนร่วมกับเซรุ่มจึงช่วยได้อย่างเต็มประสิทธภาพ ซึ่งจะฉีดเซรุ่มนี้ไปพร้อมกับวัคซีนรอบแผลในวันแรกที่เริ่มฉีด

ทั้งนี้ ทั้ง 2 กรณี ซึ่งหากผู้บาดเจ็บเคยฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายน้อยกว่า 6 เดือนแล้วเกิดถูกกัดอีกแพทย์ก็จะฉีด 1 เข็ม ครั้งละ 1 จุด เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่หากฉีดเข็มสุดท้ายมามากกว่า 6 เดือน ในวันที่เริ่มฉีดวัคซีน และวันที่ 3 แพทย์ก็จะฉีดกระตุ้น 2 เข็ม ครั้งละ 1 จุด โดยไม่ต้องฉีดเข็มเซรุ่ม

หากต้องรอฉีดวัคซีนนานกว่านั้น จะเป็นอะไรไหม?

อย่างที่บอกว่าหากถูกสุนัขกัดควรไปฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าภายใน 24 – 48 ชั่วโมง แต่หากไม่ได้ฉีดทันทีภายใน 48 ชั่วโมงโอกาสการติดเชื้อมีสูง โดยจะขึ้นอยู่กับลักษณะของบบาดแผลที่ถูกกัด เช่น เขี้ยวเล็ก ๆ หก็มีโอกาสช้า แต่หากเป็นแผลฉกรรจ์ วงกว้าง ใหญ่ ลึก ไปจนถึงขั้นเลือดออกมากก็ควรต้องรีบไปให้ไวที่สุด เพื่อยับยั้งเชื้อในร่างกาย ไม่ทำให้เสียชีวิต ที่สำคัญการพบแพทย์อย่างรวดเร็วจะทำให้สามารถประเมินรอยโรคถึงระดับความรุนแรงอย่างดีที่สุดได้ ส่วนเรื่องเซรุ่มจะอยู่ที่ความเสี่ยงของร่องรอยถูกกัด หากเป็นสุนัขเลี้ยงเอง ได้รับการฉีดวัคซีน มีแค่รอยเขี้ยวแต่ไม่มีเลือด ไม่ลึกก็ไม่ต้องฉีดเซรุ่ม ตรงกันข้ามหากเป็นสุนัขจรจัด โดนกัดเป็นแผลฉกรรจ์ ลึก เลือดออกเยอะก็ต้องฉีดเซรุ่มร่วมด้วย

ซึ่งราคาวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าจะขึ้นอยู่กัแต่ละโรงพยาบาลกำหนด ส่วนใหญ่จะเฉลี่ยเข็มละ 120 – 1,000 บาท และต้องฉีดให้ครบตามจำนวนเข็มที่กล่าวไปข้างต้น หากเป็นโรงพยาบาลเอกชนโดยรวมแล้วจะมีค่าใช้จ่ายทั้งหมดเฉลี่ย 2,000 – 7,000 บาท ส่วนโรงพยาบาลรัฐจะมีค่าใช้จ่ายทั้งหมดเฉลี่ย 2,000 – 4,000 บาท กรณีฉีดเซรุ่มไปด้วยก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเฉลี่ย 10,000 – 40,000 บาท (คำนวณปริมาณเซรุ่มที่ต้องฉีดจากน้ำหนักผู้บาดเจ็บ) ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลจะกำหนดอีกเช่นกัน

แบบนี้เราสามารถป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร?

วิธีป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าที่ดีที่สุดคือเลี่ยงอยู่ใกล้สัตว์ดุร้ายโดยเฉพาะสุนัขและแมวจรจัด ไม่ทำพฤติกรรมก่อกวน แหย่ หรือรังแกจนทำให้สัตว์โมโห หากเป็นสุนัขหรือแมวที่เลี้ยงควรพาไปฉีดวัคซีนตามกำหนด และฉีดซ้ำทุก ๆ ปี เมื่อจะพาไปเดินเล่นนอกบ้านก็ให้ใส่สายจูงไว้ ป้องกันไปกัดบุคคลอื่น

กรณีถูกกัดให้รีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่หลายครั้งนาน 15 นาที พยายามล้างทุกแผลให้ถึงก้นแล้วใช้สำลีหรือผ้าเช็ดแผลให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น ยาโพวิโดนไอโอดีน หากรู้ว่าเป็นสุนัขของใครรีบไปหาเจ้าของก่อนแล้วสอบถามประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า และรีบพบแพทย์เพื่อทำการประเมินโรคอย่างรวดเร็ว

การถูกสุนัขกัดนอกจากจะต้องให้ความสำคัญกับการฉัดวัคซีน ฉีดเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้าแล้ว ก็ยังต้องให้ความสำคัญกับวัคซีนบาดทะยักด้วย เพราะเราไม่รู้เลยว่าสัตว์ที่กัดจะไปกิน ไปแทะอะไรมา หรือมีความสกปรกภายในช่องปากมหาศาล ซึ่งอาจทำให้เป็นบาดทะยักร่วมด้วยได้ และหลังจากนี้ก็หวังว่าทุก ๆ คนจะเกิดความเข้าใจและขจัดความกังวลเกี่ยวกับโรค เกี่ยวกับฉีดวัคซีนไม่มากก็น้อย ทางที่ดีหากเลี้ยงสัตว์ก็ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการฉีดวัคซีนป้องกันไว้เลย หรือไม่เข้าใกล้บรรดาสุนัขจรจัดไว้จะดีกว่า

บทความล่าสุด